หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Doctor of Philosophy Program in Information Technology)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีการศึกษา 2563 จัดทำขึ้นเพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในระดับสูงทั้งทางด้านทฤษฎีและทางปฏิบัติได้มาตรฐานเทียบเท่าสากล เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรของประเทศ โดยดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษา สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย และทำการทดลอง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสามารถในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้อย่างเป็นสากล รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆดังนี้
1. ค้นคว้า วิจัย และทำการทดลอง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และพัฒนาองค์ความรู้ในทางสร้างสรรค์อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และประเทศชาติ
3. เป็นผู้นำในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในภาครัฐและเอกชนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ
โครงสร้างหลักสูตร
1. จำนวนหน่วยกิต 48 หน่วยกิต
2. องค์ประกอบของหลักสูตร
ก. หมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
เกณฑ์การจบการศึกษา หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ1. ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมระดับนานาชาติ อย่างน้อย 2 ครั้ง โดยเนื้อหาจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ที่นำเสนอ และเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
1.1 การประชุมวิชาการระดับนานาชาติหรือภูมิภาค ที่จัดโดย สมาคม องค์การ องค์กร มหาวิทยาลัยในประเทศไทย หรือประเทศใดๆ เป็นประจำ (ไม่ได้เวียนจัดที่อื่น) สามารถนับได้สูงสุด 1 ครั้ง โดยอ้างอิงจากรายชื่อการประชุมวิชาการที่บัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศยอมรับ
1.2 การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่จัดโดย สมาคม องค์การ องค์กร มหาวิทยาลัย ใดๆ ที่ไม่ได้จัดเป็นประจำในประเทศไทย หรือประเทศใดๆ เป็นประจำ (โดยปกติจะเวียนจัดตามประเทศต่างๆ) สามารถนับได้ทุกครั้งที่มีการตอบรับบทความ โดยอ้างอิงจากรายชื่อการประชุมวิชาการที่บัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศยอมรับ2. ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยเนื้อหาจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ โดยอ้างอิงจากรายชื่อวารสารที่บัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศยอมรับ3. ต้องสอบผ่านทุกวิชาตามหลักสูตร โดยมีหน่วยกิต สะสมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.0
4. ต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศกำหนด
5. ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีมหานครกำหนด
6. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านปากเปล่าขั้นสุดท้าย เกณฑ์การขึ้นสอบวิชาวิทยานิพนธ์ 1-4 1. วิชาวิทยานิพนธ์ 1- นักศึกษาต้องมีจัดทำรายงานสรุปการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ในเรื่องที่กำลังศึกษาวิจัย แนบพร้อมกับแบบฟอร์มการขอขึ้นสอบวิทยานิพนธ์ 1
2. วิชาวิทยานิพนธ์ 2- นักศึกษาต้องแนบบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้ส่ง (Submitted Paper) ไปในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conferences) ที่ได้มีการยอมรับจากทางบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อย 1 บทความ แนบพร้อมกับแบบฟอร์มการขอขึ้นสอบวิทยานิพนธ์ 2
3. วิชาวิทยานิพนธ์ 3- นักศึกษาต้องแนบบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ (Accepted Paper) ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (International Conferences) ที่ได้มีการยอมรับจากทางหบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อย 1 บทความ แนบพร้อมกับแบบฟอร์มการขอขึ้นสอบ วิทยานิพนธ์ 3
4. วิชาวิทยานิพนธ์ 4- นักศึกษาต้องแนบบทความที่เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ได้รับการตอบรับ (Accepted Article) วารสารวิชาการระดับนานาชาติ (International Journals) ที่ได้มีการยอมรับจากทางบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อย 1 บทความ แนบพร้อมกับแบบฟอร์มการขอขึ้นสอบ วิทยานิพนธ์ 4 *บทความเเละวารสารทั้งหมดต้องเป็น technical paper เเละมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่นักศึกษากำลังศึกษาวิจัย
เกณฑ์ของวารสารและการประชุมวิชาการนานาชาติ
วารสารวิชาการนานาชาติ (Link web ตรวจสอบรายชื่อวารสารนานาชาติ)
1. รายชื่อที่มีอยู่ในรายการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
2. รายชื่อที่มีอยู่ในฐานข้อมูล
2.1 SciSearch
2.2 EiCOMPENDEX
2.3 INSPEC การประชุมวิชาการนานาชาติ (Link web ตรวจสอบรายชื่อการประชุมวิชาการนานาชาติ)
1. รายชื่อที่มีอยู่ในรายการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หมายเหตุ
ในกรณีที่รายชื่อวารสารหรือการประชุมวิชาการนานาชาติ ไม่อยู่ในรายการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ให้นักศึกษายื่นเรื่องขออนุมัติเพิ่มรายชื่อ ตามวิธีการขอเพิ่มรายชื่อการประชุมวิชาการนานาชาติ
วิธีการขอเพิ่มรายชื่อการประชุมวิชาการนานาชาติ
นศ.ที่ต้องการขอเพิ่มรายการ การประชุมวิชาการนานาชาติเข้าไปอยู่ในรายการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ให้ทำเรื่องผ่าน อ.ที่ปรึกษา ให้เป็นผู้ดำเนินการให้ โดยนักศึกษาต้องเตรียมข้อมูลดังนี้
1. แบบฟอร์มขออนุมัติเพิ่มรายชื่อการประชุมวิชาการนานาชาติ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม F-PSO/PA-010)
2. แบบฟอร์มข้อมูลการประชุมย้อนหลัง 3 ปี พร้อมจำนวนบทความในแต่ละปี (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม F-RIO-007)
3. call for papes ที่มีรายละเอียดครบถ้วนส่งเอกสารที่เจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากสถาบันที่ ก.พ. รับรอง ในสาขาที่มีการเรียนวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต หรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
(2) ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงและแพทย์มีความเห็นว่ามีสุขภาพเหมาะสมที่จะเข้าเรียนได้
(3) ไม่มีความประพฤติที่สังคมรังเกียจและไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดีมีผู้รับรอง ซึ่งมีที่อยู่ที่ทางมหาวิทยาลัยฯ สามารถติดต่อได้
ระบบการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค หลักสูตร 3 ปี (ไม่มีการจัดการศึกษาภาคการศึกษาฤดูร้อน)
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน – กันยายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
เวลาเรียน
วันเสาร์-อาทิตย์ 9.00-18.30
ติดต่อสอบถาม บัณฑิตศึกษา
Email: itgrad@mutacth.com
คณะวิทยาการเเละเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อาคาร Q 140 ถ.เชื่อมสัมพันธ์ หนองจอก กรุงเทพฯ 10530 โทร 02-988 3666 ต่อ 4112