
“ในอนาคตเราอาจจะมีอุปกรณ์ IoT ที่สร้างจาก แบคทีเรีย!”
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังวิจัย คุณสมบัติ บางอย่างของแบคทีเรีย ที่จะนำมาสร้างเป็นเครือข่ายเซนเซอร์ ที่เรียกว่า Internet of Bio-Nano Things (IoBNT)
จุดเด่นที่สำคัญของการนำแบคทีเรียมาใช้คือ ขนาดเซลที่เล็กมาก อย่างไรก็ตาม การวิจัย IoBNT ตอนนี้อยู่ใน จุดเริ่มต้น ที่มหาวิทยาลัย Queen Mary University นักวิจัยกำลังพยายามอธิบายเกี่ยวกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์และการทำงานของแบคทีเรีย มีความสัมพันธ์ มีความคล้ายคลึงกันอย่างไร
Raphael Kim และ Stefan Posland เขียนในบทความวิจัยของเขาว่า มีข้อสนับสนุน ที่สามารถพิจารณาได้ว่า “แบคทีเรีย สามารถเป็น รูปแบบหนึ่งของอุปกรณ์ IoT ที่มีชีวิต”
การประยุกต์ใช้กับงานทางด้านสภาพแวดล้อม น่าจะเป็นด้านหนึ่งที่จะได้ประโยชน์จาก IoBNT เพราะแบคทีเรีย สามารถตรวจจับ สารเคมี สนามแม่เหล็ก แสง อุณหภูมิ รวมถึงการตอบสนอง ของแบคทีเรียในสภาวะต่างๆ ต่อสภาพแวดล้อม ดังนั้น ในอนาคต จึงมีการคาดการณ์ว่า แบคทีเรีย อาจจะกลายมาเป็นสารตั้งต้นในการผลิต IoT แบบชีวภาพ